หยุด!! สร้างขยะให้โลกนี้ด้วยอาหารที่คุณกินทุกวัน
บทความนี้มาจากอินเนอร์สิ่งตัวที่รู้สึกว่าเยอะเกินไปแล้วนะกับการทำร้ายโลกค่ะ สืบเนื่องมาจากการระเบิดของโรงงานผลิดเม็ดพลาสติกที่เกิดขึ้นเมื่อวานนี้ เลยมานั่งคิดว่าพวกเรากำลังเดินผิดทางกันอยู่หรือเปล่าในการใช้ชีวิตและใช้ทรัพยาการในโลกใบนี้ อาจจะยาวหน่อยนะคะ แต่อยากให้พวกเราได้เปลี่ยนเพื่อโลกใบนี้กันดีกว่าค่ะ
รูปจาก https://mgronline.com/
แน่นอนค่ะว่าพวกเราชาวกรุงเทพฯ ได้รับความเดือดกันถ้วนหน้าโดยเฉพาะผู้คนที่อยู่ในบางพลี สมุทรปราการ ร้านต่างๆในแถบนั้นต้องปิดร้านชั่วคราว เป็นความเสียหายซ้ำซ้อน จากโควิดไม่พอ ยังมาโดนซ้ำเติมด้วยโรงงานระเบิด และควันพิษอีก ซึ่งคราวนี้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อร่ายกาย... เพราะมันคือสารพิษ...มีผลโดยตรงต่อระบบทางเดินหายใจ และร่างกายในอนาคต
รูปจาก https://mgronline.com/
น่าสงสารแต่ทีมงานมนุษย์ผจญเพลิงที่ต้องยอมเสี่ยงอันตราย เพื่อหยุดไฟไหม้ให้เร็วที่สุด ก่อนที่จะสร้างความเสียหายไปมากกว่านี้ และยังชาวบ้านที่อยู่แถบนั้นที่บ้านพัง อยู่ไม่ได้ไปอีกเป็นอาทิตย์เพราะควันพิษที่ยังเหลืออยู่ และสุดท้ายสงสารชาวกรุงเทพฯ และจังหวัดใกล้เคียงที่กระแสลมพัดพาเอาสารพิษกระจายลอยไปให้สูดดมกันอย่างถ้วนหน้า
พวกเราจะไม่มีวันจบปัญหามลภาวะฝุ่น ควันพิษ คลื่นความร้อน โลกร้อน น้ำท่วม และอีกหลายๆหายนะได้เลยนะคะถ้าพวกเราไม่หยุดพฤติกรรมของเราเสียตั้งแต่วันนี้!! พฤติกรรมการใช้พลาสติกครั้งเดียวทิ้งไปเรื่อยๆ เพราะมีข้ออ้างต่างๆนาๆ เช่น ก็ไปทานอาหารนอกบ้านไม่ได้ก็เลยต้องสั่งมาทาน ร้านอาหารก็ต้องใช้กล่องพลาสติกเพื่อขนส่งอาหารให้ปลอดภัย เมื่อมีความต้องการมา โรงงานก็ต้องผลิตถุง และกล่องพลาสติกมาให้ใช้มากขึ้น ปัญหางูกินหางนี้ไม่จบค่ะ ถ้ายังคงวนเวียนอยู่แบบนี้
แทนที่เราคิดว่า เราทำอะไรไม่ได้ เรามาเปลียนสิ่งที่เราทำอยู่ทุกวันๆก่อนมั้ยคะ ?? มีสิ่งเล็กน้อยที่เราทำได้ในทุกวัน เพื่อจะสร้างขยะให้น้อยลงสำหรับโลกใบนี้ที่อยากเอามาเป็นตัวอย่างค่ะ
1. พกถุงผ้าติดตัว ติดกระเป๋า ไปใส่ของที่เราต้องไปซื้อเอง ติดตัว ติดกระเป๋า ถึงแม้จะเลอะก็ซักได้ ควรเลือกแบบที่เป็นผ้าจากธรรมชาติจะดีที่สุดค่ะ เพราะถ้าเป็นถุงที่มีส่วนผสมของพลาสติก เสื่อมสภาพ และจะแตกตัว กลายเป็นให้โลกในนี้ได้อยู่ดี ไม่สนับสนุนถุงที่ทำมาจากพลาสติกทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นถุงบาง ถุงหนา ถุงสปันบอนด์ (วัสดุที่ทำมาจากพลาสติก และ สามารถแตกตัวเป็นชิ้นเล็กๆกลายเป็น ไมโครพลาสติกต่อไป) #พิจารณาดูจากสิ่งที่เราซื้อบ่อยๆ จะได้เลือกขนาดที่ต้องพกไปได้ถูก เช่น เราชอบซื้อกาแฟหลายแก้ว ถือไม่ไหว ต้องใส่ถุง เลิกขอถุงที่ร้านเลยนะคะ เพราะนั่นก็คือขยะ 1 ชิ้นที่คุณไม่ได้พกกลับมาให้ร้านใส่ซ้ำอีก หาถุงผ้าขนาดพอดี ใส่กี่แก้วก็วัดไป และเตรียมไปค่ะ
"ที่ร้านเรางดใช้ถุงพลาสติกมานานแล้ว ถ้าเป็นไปได้นำถุงมาเองแทนการรับถุงกระดาษจากเราไปก็ดีนะคะ เพราะถุงกระดาษก็มี Carbon footprint ในการผลิตเช่นกันค่ะ"
2. กล่องอาหารดิลิเวอรี่ เป็นปัญหาใหญ่ที่มากันโควิด19 และคาดว่าจะกลายเป็นปัญหาหนักขึ้นเรื่อยๆ เพราะทุกคนเคยชินกับการสั่งอาหารดิลิเวอรี่ ไม่สั่งมาก็ไม่ได้ เพราะเบื่อกับข้าวที่ทำกินที่บ้านแล้ว ถ้าเป็นร้านที่สั่งบ่อยๆ ลองฝากกล่องของเราไว้ที่ร้านสิคะ หรือจะเป็นปิ่นโตก็ดีค่ะ อะไรที่เอากลับมาใช้ซ้ำได้อย่างปลอดภัย แต่ก็เข้าใจนะคะว่าร้านก็คงไม่มีที่เก็บให้เรา ถ้าฝากกันเยอะๆ โดยเฉพาะร้านใหญ่ๆ ถ้างั้นลองเสนอร้านให้เปลี่ยนมาใช้กล่องกระดาษมั้ยคะ อย่างน้อย กระดาษก็ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายน้อยกว่า เมื่อเอามาถูกเผาทำลายก็เกิดเป็นมลพิษน้อยกว่ากล่องพลาสติกแน่นอนค่ะ
อีกทางหนี่งถ้าได้กล่องพลาสติกมาแล้วก็คือ #ต้องรู้จักที่จะแยกขยะ ขั้นตอนคือ ล้างให้สะอาดก่อนแยกไว้ต่างหากจากขยะชนิดอื่น สามารถรีไซเคิลรวมกับขวดพลาสติก หรือพลาสติกชนิดอื่นได้ แนะนำว่าให้แยกไว้เพื่อให้คนเก็บขยะจัดการกับขยะพวกนี้ได้ง่ายกว่า โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามาแยกอีก อันตรายต่อการติดเชื้อโรค และส่วนใหญ่ถ้าเราไม่แยกขยะ มันจะถูกเผารวมกันกับขยะชนิดอื่นๆในโรงงานกำจัดขยะเลย ถ้าเราแยกประเภทขยะให้ถูกต้อง เค้าจะสามารถนำไปเผาทำเชื้อเพลิงทดแทนที่โรงปูนซีเมนต์ได้ค่ะ โรงงานพวกนี้จะมีวิธีเผาที่มิดชิดได้มาตรฐาน โดยที่ไม่เกิดเป็นมลพิษกลับมาสู่สิ่งแวดล้อมค่ะ อย่าเอาไปเผาเองเชียวนะคะ ควันพิษที่ได้อันตรายไม่ต่างจากควันพิษที่เกิดจากการระเบิดของโรงงานสารเคมีเมื่อวานเลยค่ะเพราะพลาสติกทำจากเป็นปิโตเคมี เหมือนเราเผาน้ำมันนั้นเองค่ะ ดูปรเภทของพลาสติกในรูปนี้จาก เว็ป kapook.com อธิบายได้ดีมากค่ะ
"ที่ร้านเรา หลอดที่เราใช้เป็นหลาดที่ผลิดจากชานอ้อย สามารถย่อยสลายได้ใน 6 เดือน และยังย่อยและกลายเป็นอาหารสัตว์ได้ และเรายังเปลี่ยนแพ็คเกจจิ้งของเค้กชิ้นเล็กๆเท่าที่ทำได้ให้เป็นกระดาษ ถึงต้นทุนจะสูงขึ้น เพราะกระดาษมีราคาเพิ่มขึ้น แต่ก็สบายใจกว่ากันเยอะเลยค่ะ"
3. อาหารเหลือก็เป็นขยะนะ ใช่ค่ะ การที่เราสั่งอาหารมาแล้วทานไม่หมด เพราะไม่อร่อย อิ่ม ลืมแล้วเสียคาตู้เย็น หรืออะไรก็ตาม ก็เป็นการก่อให้เกิดขยะนะคะ ประเทศไทยซึ่งมีปริมาณขยะมูลฝอยเพิ่มขึ้นทุกปี มีรายงานว่าปริมาณขยะมูลฝอยกว่า 26.77 ล้านตัน ซึ่งในปริมาณนี้มีขยะอาหารมากถึง 64% เฉพาะในกรุงเทพฯ มีปริมาณขยะมูลฝอย 9,000 ตัน/วัน ในจำนวนนี้มีขยะอาหารมากถึง 50% (ข้อมูลอัพเดต 20 เมษายน 2021) สิ่งที่เราควรทำคือ สั่งมาแต่พอประมาณ สั่งให้พอดี ทานให้หมด ไม่หมดเก็บไว้กินมื้อต่อไป ดูก่อนว่ามีอะไรเหลือในตู้เย็นและรีบทานภายใน 2-3 วัน อะไรแช่แข็งได้ก็แช่เลยค่ะ ในกรณีซื้อตุน เพราะจะเก็บได้นานกว่า เช่นกับข้าว แช่แข็งเอามาอุ่นทานต่อส่วนใหญ่จะไม่มีผลต่อรสชาดและรสสัมผัสค่ะ
หนึ่งในวิธีช่วยโลก ให้มีขยะน้อยลงเลือกของอร่อยขนาดพอเหมาะสำหรับตัวเองสิคะ เลือกร้านคุ้นเคยและมั่นใจ จะได้ไม่มีให้เหลือทิ้งค่ะ
"อย่างร้านเรา เราแนะนำเค้กขนาดที่พอดีกับจำนวนคนที่ทาน และเราตั้งใจทำให้อร่อย และมีคุณภาพ เพื่อให้ลูกค้าทานให้หมดในพริบตา จะได้ไม่เหลือทิ้งเป็นขยะให้โลกใบนี้ค่ะ"
ถ้าทานไม่หมดจริงๆ ลองเอาไปแบ่งให้คนอื่นมั้ยคะ ญาติพี่น้อง ลูกน้อง เพื่อน พี่ยาม พนักงานกวาดขยะ ทำความสะอาด หรือ การนำไปบริจาคให้ผู้ยากไร้ ก็ยังได้ค่ะ ร้านเราก็กังวลเกี่ยวกับเรื่องขนมที่เราผผลิตและขายไม่หมดเหมือนกัน เราเลยคำนวณการผลิดให้พอดีสำหรับขายในแต่ละวันอย่างดีที่สุด แต่ยังงัยก็ยังเหลือค่ะ เราเลยเข้าร่วมกับ www.yindii.co เพื่อส่งมอบความอร่อย สำหรับผู้ที่ยังเห็นคุณค่าของอาหาร ลองเข้าไปดูในเว็ป Food waste fighter "Yindii" นะคะ เพราะมีอาหารคุณภาพดีที่ยังขายไม่หมดที่ร้านต่างๆเอามาลดราคาขายให้ลูกค้าในราคาพิเศษก่อนที่จะกลายเป็นขยะค่ะ เราก็ร่วมด้วยแต่จะเป็นขนมบางชนิดเท่านั้นนะคะ #ต้องคอยลุ้นดูในแต่ละวันค่ะ
สุดท้ายแล้ว ถ้ายังมีเศษอาหารเหลืออยู่เช่น เปลือกผลไม้ ก้างปลา กระดูก และอื่นๆที่เป็นเศษอาหาร ลองศึกษาวิธีการหมักปุ๋ยด้วยตัวเองสิคะ ทได้ง่ายๆ และเริ่มได้เลย ไม่ต้องรอค่ะ
Photo by Kyle Ellefson on Unsplash
"ที่ร้านลาร์นาเฮ้าส์เราเอาเศษอาหาร เศษขนม ใบไม้แห้ง ใบโกโก้ที่ร่วงหล่น #มาหมักเป็นปุ๋ย และปลูกผักปลอดสารพิษทานกันเองค่ะ ไม่มีกลิ่นเหม็นเลย ที่สำคัญได้ผักสวนครัวที่สด สะอาดปลอดภัย และได้คุณค่าทางอาหารครบเพราะเป็นสิ่งที่โลกใบนี้ให้มาและสอนให้เรารู้จักการหมุนเวียนธรรมชาติค่ะ และลดขยะที่ออกไปจากร้านเราได้มากถึง 50% เลยหล่ะค่ะ"
4. เปลี่ยนจากการใช้กระดาษทิชชู่ กระดาษเปียก เป็นผ้าเช็ดหน้ากันค่ะ ทิชชู่อาจจะพกกง่าย ใช้แล้วก็ทิ้งไป ก็เป็นกระดาษเหมือนกันนี้ไม่เห็นเป็นไร แต่รู้มั้ยคะว่าจากการทดลองของเราที่เอากระดาษทิชชู่ไปหมักในถังปุ๋ย #ทิชชู่ไม่ย่อยสบายนะคะ เราทำการหมักปุ๋ยในถังหมักมือหมุนของเรา นาน 2 เดือน ยังเป็นทิชชู้อยู่เหมือนเดิมเลยค่ะ สาเหตุเพราะทิชชู่มีสารฟอกขาวในกระบวนการผลิต จุลินทรีย์ในถุงหมักปุ๋ยเลยไม่กล้ายุ่ง และไม่ย่อยกระดาษทิชชู่ค่ะ เราพบว่าการพกผ้าเช็ดหน้าติดตัวนั้นง่ายมาก เมื่อมีอะไรเลอะก็เช็ดออกแบบแห้ง หรือแบบชุปน้ำก็สะอาดเหมือนกัน สามารถรวมมาซักและใช้ซ้ำใหม่ได้ เมื่อเริ่มเลอะจนซักไม่ออก ไม่สามารถออกงานได้แล้วก็ใช้เป็นผ้าขี้ริ้วใช้ในบ้าน ในรถต่อได้ค่ะ เราพยายามรณรงค์ให้ในครัวของเราใช้ผ้าแทนการใช้ทิชชู่ ซึ่งเราทำความสะอาดผ้าเหล่านั้นด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่ไม่เป็นพิษต้อสิ่งแวดล้อมและยังสามารถขจัดคราบได้ดีอีกด้วย ลองเปลี่ยนมาใช้ผ้าเช็ดหน้า และน้ำยาซักผ้าที่ปลอดภัยกับธรรมชาติ แม่น้ำ ลำคลอง ที่เรียกว่า Biodegradable กันนะคะ
5. การออกแบบกล่องและถุงกระดาษที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ใหม่ อันนี้เป็นความชอบส่วนตัวค่ะ เราพยายามจะซื้อสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น และยังดุถึงบรรจุภัณฑ์อีกด้วย เพราะถ้าเราต้องซื้อซ้ำ จะเกิดขยะเพิ่มอีกเท่าไหร่ ในบางคนที่เค้าเคร่งครัดเรื่องการทำ Zerowaste มากๆ เค้าจะไม่ซื้อของใหม่เลยนะคะ เพราะของใหม่มักมาพร้อมห่อพลาสติก ป้าย และของตกแต่งที่ไม่จำเป็น และใส่ได้เหมือนกันกันของมือสอง การช๊อปปิ้งตามรายการลดราคานี่ก็เป็นแรงกระตุ้นสำคุญเลยค่ะ ถ้าเราไปตาม 11.11 12.12 เราจะได้ของใหม่ที่บางทีจะกลายเป็นขยะตลอดเวลา เสียเงินไม่พอ ยังเสียดายเมื่อกลับมามองดูอีกทีอด้วยค่ะ
ฉะนั้นเราเลยไม่ค่อยลดราคาสินค้า มีโปรตามกระแสมากนัก ออกแบบขนมใหม่ๆ ก็คิดแล้วคิดอีกเรื่องบรรจุภัณฑ์ แต่ก็ยอมรับนะคะว่าพลาสติกช่วยยืดอายุขนมได้ดีกว่าจริงๆ แต่เราก็ต้องผลิตให้เหมาะสมกับจำนวนความต้องการของลูกค้าด้วยค่ะ ไม่ให้มีวันหมดอายุนานเกินไปก็ใช้บรรจุภัณฑ์ที่เซฟลงมาได้ หรือ ออกแบบให้สามารถเอามาใช้ซ้ำได้ เพราะมีประโยชน์อย่างอื่น หรือน่ารัก เช่น กล่องเค้กวันเกิดของเราค่ะ
"กล่องเค้กวันเกิดของเราสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำ เล่นเกมส์ได้ เป็นนามบัตรได้ มีคูปองส่วนลดด้วยนะ"
จริงๆแล้วยังมีอีกหลายวิธีที่จะช่วยกันลดการใช้พลาสติก เพื่อให้น้อยลง สารเคมีจะได้มีการใช้ลดลง อันตรายต่อโลกก็จะน้อยลงด้วยค่ะ ใครมีความเห็นอะไร หรือมีไอเดียดีๆจะแนะนำก็คอมเม้นมาได้นะคะ พวกเราดีใจที่เห็นทุกคนให้ความสนใจ และแบ่งปันเรื่องราวดีๆเพื่อให้โลกของเราน่าอยู่ขึ้นค่ะ
>> อ่านต่อเรื่องราวที่เราต่อสู้กับการเป็น Zero Waste ได้ที่นี่ค่ะ <<
ขอบคุณไอเดียและความรู้ดีๆจาก
https://www.facebook.com/chulazerowaste/posts/2182213305329133/
https://erc.kapook.com/article09.php
https://workpointtoday.com/plastic-bags/
https://erdi.cmu.ac.th/?p=1155